เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561 เวลา 08.30 น. นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการบูรณาการเพื่อร่วมพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ภาคเหนือ โดยมีนายปวิณ ชำนิประศาสน์ รองปลัดกระทวงมหาดไทย ร่วมบรรยายพิเศษในการบูรณาการเพื่อร่วมพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก (ภาคเหนือ) ที่ ห้องดวงตะวัน แกรนด์ บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมดวงตะวัน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการบูรณาการเพื่อร่วมพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก (ภาคเหนือ) เป็นโครงการที่มีการจัดการสัมมนาสําหรับผู้ปฏิบัติงานโดยมีเป้าหมายหลักเพื่อกระตุ้นกลไกการดําเนินงานด้านเศรษฐกิจในพื้นที่โดยมุ่งเน้นที่ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือ กรอ. ให้พร้อมรับขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อยกระดับศักยภาพและสร้างโอกาสทางการแข่งขันของพื้นที่ได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ในการขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับพื้นที่ (Area-Based) ภาค กลุ่มจังหวัด และจังหวัด ส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการในการพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ตกอยู่กับประชาชนในพื้นที่ และประชาชนในพื้นที่ไม่ได้มีความต้องการ ต้องการของประชาชนผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ตกอยู่กับประชาชนในพื้นที่ และความต้องการในสิ่งที่เร่งด่วน หรือมีความต้องการในสิ่งที่เร่งด่วนกว่า จึงเกิดการความร่วมมือในรูปแบบของประชารัฐที่มีภาคส่วนต่างๆ บูรณาการการในหลายกรณี เป็นต้น
ทั้งนี้ กลไกความร่วมมือในรูปแบบของประชารัฐที่จะมีการขับเคลื่อนความต้องการในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของพื้นที่ได้ทํางานระหว่างกัน เป็นพลังในการขับเคลื่อนความต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งกระบวนการการมีส่วนร่วมมีหลายระดับ ทั้งการเสนอความคิดเห็น การร่วมดำเนินการ และการติดตามผล ซึ่งการบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงานในพื้นที่จะต้องใช้เป้าหมายเป็นแนวทางำหรับการทำงานร่วมกัน มากกว่าที่จะใช้บทบาทหรืออำนาจหน้าที่เป็นตัวกำหนดแนวทางการดำเนินการ และยังเป็นกลไกด้านเศรษฐกิจที่สําคัญ เพื่อแก้ไขและพัฒนาตามประเด็นความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียในระดับพื้นที่ ถือว่าเป็นเวทีที่เกิดจากความต้องการเข้ามามีมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอื่นๆ ให้เป็นไปตามทิศทางการพัฒนาประเทศ และแนวนโยบายของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลมีความต้องการปรับเปลี่ยนเพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากการเกษตร แบบดั้งเดิมสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี ส่งเสริมเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ ส่งเสริมผู้ประกอบยุคใหม่ และ Startups ที่มีศักยภาพสูงการปรับเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าค่อนข้างต่ำไปสู่สินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงหรือการปรับเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและทักษะสูง เป็นต้น ซึ่งจะแสดงให้เห็นศักยภาพของจังหวัด ในการขับเคลื่อนงานด้านเศรษฐกิจของพื้นที่ได้เป็นอย่างดียิ่ง และสามารถนําแนวทางการจัดทําข้อเสนอดังกล่าวไปปรับใช้ในการจัดทําข้อเสนอในระดับพื้นที่เพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป