Latest News

วช. จัดประชุมระดมความคิดเกี่ยวกับ (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย ฉบับที่ 9 ในพื้นที่ภาคเหนือ

          สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จัดประชุมระดมความคิดเกี่ยวกับ (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย ฉบับที่ 9 ในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย และใช้เป็นกรอบทิศทางในการจัดทำข้อเสนองานวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณประจำปี ตามมติคณะรัฐมนตรี

          เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุม CGV1 ชั้น 1 ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ นางสาวสุกัญญา ธีระกุรณ์เลิศ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมระดมความ คิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2560-2564) ในพื้นที่ภาคเหนือ โดยมีนายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ โดยเนื้อหาของ(ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยฉบับดังกล่าวประกอบด้วย การเกษตร ระบบโลจิสติกส์ เศรษฐกิจดิจิทัล อุตสาหกรรมเป้าหมาย การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ด้านสังคมผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพ การท่องเที่ยว การเป็นประชาคมอาเซียน ด้านความมั่นคงของรัฐและการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงและด้านยาเสพติด

          นางสาวสุกัญญา ธีระกุรณ์เลิศ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการประชุมระดมความคิดเห็น (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2560- 2564) ภาคเหนือ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย และใช้เป็นกรอบทิศทางในการจัดทำข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐ ที่เสนอของบประมาณประจำปี ตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกันกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองของประเทศที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง และมีความสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนนโยบายและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานบริการวิจัย หน่วยงานให้ทุนวิจัย หน่วยงานที่มีภารกิจหน้าที่ประจำภาคเอกชนและท้องถิ่น พร้อมทั้งคำนึงถึงสถานภาพปัญหาและศักยภาพของภูมิภาคของประเทศ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม ในการกำหนดปัญหาให้และนำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยการวิจัย โดยตรงกับความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง และนำมาบูรณาการรวมกันกับข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิท้องหน่วยงานต่างๆ และผู้เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หน่วยงานท้องถิ่น หน่วยงานภาคธุรกิจเอกชน และประชาสังคม

 



เขียนข่าวโดย :: Editor
วันที่ :: 27 พฤษภาคม 2559
เวลา :: 02:39:14

ข่าวอื่นๆ ในหมวดนี้ [ ข่าวราชการ ]