Latest News

ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคมปรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเงินชราภาพ ให้เลือกได้ระหว่าง "เงินบำเหน็จ-เงินบำนาญ" ผู้ประกันตนมาตรา 33 ต้องรู้รายละเอียดก่อนตัดสินใจเลือกให้ดี

          เงินบำเหน็จชราภาพ

ผู้ประกันตนจะได้สิทธิเฉพาะกรณี คือ คนที่จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือกรณีเป็นผู้ทุพพลภาพหรือตายก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์จะได้รับเงินเป็นเงินบำเหน็จชราภาพเป็นการจ่ายเงินก้อนครั้งเดียว

          คำนวณสิทธิที่ได้รับ : จ่ายสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ได้รับเงินสมทบเท่าที่ผู้ประกันตนจ่าย ได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว
จ่ายสมทบตั้งแต่ 12 - 179 เดือน : เงินออมชราภาพของผู้ประกันตน + เงินสมทบนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน
เงินบำนาญชราภาพผู้ประกันตนได้สิทธิต่เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
เป็นการจ่ายรายเดือนตลอดชีพ
          คำนวณสิทธิที่ได้รับ : จ่ายสมทบ 180 เดือน (15 ปี) พอดี 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่จ่ายประกันสังคม (คำนวณจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท)
จ่ายสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี) : บวกเพิ่มปีละ 1.5% ต่อปี
ทั้งนี้ หากมีการประกาศใช้ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมใหม่ล่าสุดจะทำให้ผู้ประกันตนสามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินก้อนในครั้งเดียว หรือรับเงินรายเดือนทุก ๆ เดือนจนกว่าจะเสียชีวิต ได้อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันการกู้เงินรวมถึงปรับเกณฑ์ให้สามารถขอนำเงินบางส่วนออกมาใช้ได้ก่อน

จุฬา  สินไพบูลย์ : รายงาน



เขียนข่าวโดย :: Editor
วันที่ :: 18 พฤษภาคม 2565
เวลา :: 02:00:52

ข่าวอื่นๆ ในหมวดนี้ [ สาระน่ารู้ ]